วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แผนที่จังหวัดพะเยา


แผนที่จังหวัดพะเยา



อำเภอในจังหวัดพะเยา

1.อำเภอเมืองพะเยา
2.อำเภอจุน   
3.อำเภอปง
4.อำเภอดอกคำใต้
5.อำเภอเชียงม่วน
6.อำเภอเชียงคำ
7.อำเภอแม่ใจ
8.อำเภอภูกามยาว
9.อำเภอภูซาง  
















ตราสัญลักษณ์

 

ราสัญลักษณ์จังหวัดพะเยา



คำขวัญจังหวัดพะเย
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต  ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง
บวงรวงพ่อขุนงำเมือง  งามลือเลื่องดอยบุศราคัม  




แหล่งข้อมูล : https://www.google.co.th/search?


ข้อมูลส่วนตัว




ประวัติส่วนตัว



ชื่อ นางสาว ธีร์สุดา  สืบแสน  รหัสนักศึกษา 581171021 Section AF
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน  รหัสวิชา GEN 1102

วิชาเอก : สังคมศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 


ข้อมูลอื่นๆ


 อาณาเขต

    จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่าง
เส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้  

ทิศเหนือ                  ติดอำเภอพาน อำเภอป่าแดด และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 
ทิศใต้                      ติดอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่
ทิศตะวันออก          ติดแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านหลวง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก            ติดอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย



ลักษณะภูมิประเทศ


          ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านใต้ และตอนกลางของจังหวัด เทือกเขาเหล่านี้จะทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือลงใต้ มีที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูกอยู่สองข้างเทือกเขาและระหว่างลำน้ำ มีเนื้อที่ภูเขาสูงและสูงมากที่สุด ประมาณรัอยละ 47 ของพื้นที่จังหวัด มีพื้นที่เนินเขาผสมที่ราบ ประมาณร้อยละ 35 และมีที่ราบลุ่มน้อยที่สุด ประมาณร้อยละ 18 เท่านั้น


ลักษณะภูมิอากาศ


สภาพอากาศ ของจังหวัดพะเยาแบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ
            ฤดูร้อน อยู่ระหว่าง เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุด วัดได้ 39.5 องศาเซลเซียส
             ฤดูฝน อยู่ระหว่าง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฝนตกหนาแน่นในเดือนพฤษภาคม ฝนตกตลอดปี ประมาณ 1,043.9 มิลลิเมตร มีวันฝนตก 101 วัน
             ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนพฤศจิกายน และ เดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุด วัดได้ 10.8 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม



สภาพทางสังคม



             ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ที่เดียวกัน มีลักษณะความเป็นอยู่ที่ไม่แตกต่างกัน มีครอบครัวเป็นครอบครัวที่อยู่กันแบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยกัน และคนในชุมชนรู้จักกันหมดทุกครัวเรือน การประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะเป็น การรับจ้าง เกษตรกรรม เมื่อมีเวลาว่าง และมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กลุ่มจักสานผักตบชวา การปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงปลา การทำครกหิน เป็นต้น ลักษณะของคนในชุมชนในเรื่องความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ มีการตั้งศาลพระภูมิไว้เป็นที่ปกปักรักษาครอบครัวของตนเอง ทางด้านโอกาสทางการศึกษา ชาวบ้านได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อเป็นเหมือนกับคนล้านนาทั่วไป


ประชากร


             จังหวัดพะเยา ณ เดือน กันยายน พ.ศ. 2555 มีประชากรทั้งสิ้น 488,864 คน
เป็นชาย 238,956 คน หญิง 249,908 คนมีจำนวนบ้านทั้งสิ้น 175,685 หลัง
ความหนาแน่นโดยเฉลี่ยประมาณ  77.16  คน/ตร.กม.
จังหวัดพะเยามีชาวบ้านอาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาสูง จำนวน 5 เผ่า ได้แก่ เผ่าเย้า แม้ว  ถิ่น ลีซอ
อาข่าและ ชนกลุ่มน้อย 2 กลุ่ม ได้แก่ ไทลื้อ ลาว  โดยกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ



ยินดีต้อนรับสู่จังหวัดพะเยา




ยินดีต้อนรับสู่จังหวัดพะเยา เมืองเล็กๆในภาคเหนือ   

ที่มีมนต์เสน่ห์ที่คุณต้องมาสัมผัส  ซักครั้งในชีวิต

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อาหารพื้นเมือง



อาหารพื้นเมือง






ส้าจิ๊น  

“ ส้าจิ๊น ” เป็นอาหารที่อยู่คู่กับวิถีคนเมืองมาแสนนาน มีงานบุญงานปอยที่ไหนจะขาดเมนูนี้ไปเสียไม่ได้ ช่วยกันเตรียมช่วยกันทำ บ้างก็หั่นเนื้อ บ้างก็เตรียมเครื่องเคียง ส่งเสริมให้บรรยากาศและอรรถรสในการทานส้าจิ๊น
 


น้ำพริกอ่อง

น้ำพริกอ่องเป็นอาหารที่อยู่คู่กับวิถีของชาวเหนือมายาวนานเป็นอาหารพื้น บ้านที่มีกรรมวิธีทำที่เรียบง่ายไม่ยุ่งยากแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทาง โภชนาการ อาหารพื้นบ้านเมืองเหนือที่แสนจะอร่อย





แก๋งเห็ดห้า

เห็ดห้าหรือเห็นตับเต่า เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักจะพบในช่วงต้นฤดูฝนใต้ต้น มะกอกน้ำ ต้นขนุน  ต้นหว้า  ต้นส้ม ต้นมะม่วง  ซึ่งนิยมนำมาทำแกงหรือย่างกินเป็นอาหาร ปัจจุบันนั้นเห็ดห้าสามารถเพาะเลี้ยงได้และมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด




ยำฮก

“ยำฮก” (ยำรก) เมนูอาหารพื้นบ้านเมืองเหนือที่ทำให้หลายๆ คนน้ำลายสอและอยากที่จะลิ้มลองรสชาติอันแสนโอชะ เมื่อย้อนกลับไปสมัยก่อนกว่าจะได้กินฮกนั้นต้องรอให้วัวหรือควายที่เลี้ยง ไว้เกิดลูก เมื่อวัวควายเกิดลูกเจ้าของที่เลี้ยงต้องไปนั่งเฝ้านั่งรอฮกตกออกมา บ้างก็ถือถังน้ำ ถ้วยโถกะละมังไว้รออย่างใจจดใจจ่อ ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่ทันวัวควายที่เกิดลูก มันจะกินฮกของมันเองผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อตอนเป็นเด็กควายที่ป่ออุ้ยเลี้ยง ไว้เกิดลูกป่ออุ้ยก็ให้ผมนั่งเฝ้ารอฮกออกแต่ด้วยความเป็นเด็กก็มัวแต่เล่น รู้ตัวอีกทีเจ้าทุยก็กินฮกของมันเกือบหมดต้องวิ่งเข้าไปแย่งได้มาเพียงน้อย นิด แต่ปัจจุบันตามท้องตลาดในบ้านเรามีฮกขายอยู่เกลื่อนทั่วไปบ้างก็เป็นฮกจากใน พื้นถิ่นบ้านเรา แต่บางที่ก็เป็นฮกที่แช่แข็งมาจากแถวภาคกลางและภาคอีสานมีทั้งฮกเกิด(ฮกที่ วัวควายเกิดลูกแล้วฮกออกมาตามธรรมชาติ) และมีทั้งฮกในท้อง(ฮกที่ได้มาจากการนำวัวควายที่มีลูกอยู่ในท้องแล้วนำไป เชือด) เมื่อได้ฮกมาแล้วโดยมากจะนำมาต้มให้สุกซึ่งสมัยก่อนนั้นพ่ออุ้ยแม่อุ้ยมักจะ บอกว่าเวลาต้มให้ใส่ใบตะไคร้และใส่ใบบอนลงไปต้มด้วยต้มจนกว่าใบบอนจะเปื่อย ยุ่ยถึงจะนำมาปรุงอาหารได้แต่ปัจจุบันก็เพียงแต่ต้มใส่ใบตะไคร้พอสุกก็นำมา ปรุงเป็นอาหารแต่บางพื้นถิ่นก็นำไปนึ่ง




คั่วถั่วเน่า

ถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวเหนือ มีทั้งที่เป็นแบบแผ่นเรียกกันว่าถั่วเน่าแผ่นและแบบห่อใบตองแล้วนำไปนึ่งบาง พื้นที่เรียนถั่วเน่าชนิดนี้ว่าถั่วเน่าเมอะ ถั่วเน่าเป็นภูมปัญญาในการถนอมอาหารของคนโบราณที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นจน ถึงปัจจุบันสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายประเภทและที่สำคัญมีคุณค่าทาง โภชนาการมากมาย






ยำจิ้น

  เดินทางห่างบ้านมาหลายวัน การได้กลับมาบ้านครั้งนี้รู้สึกมีความสุขมากพอก้าวย่างเดินมาถึงบ้านรู้สึก ได้ถึงอุ่นไอรัก ร้อยยิ้มของการรอคอยการกลับมาทำให้ใจที่เคยฝ่อได้กลับมาพองโตขึ้นมาอีกครั้ง “ลูกกิ๋นข้าวมาหรือยัง ป้อกับแม่ยะยำจิ้นไว้ถ้าหล้า เดี๋ยวเก็บข้าวเก็บของแล้วหล้ามากิ๋นข้าวตวยป้อกับแม่เน่อ” ผมว่าอาหารมือนี้ต้องอร่อยมากๆ เพราะพ่อกับแม่ได้เติมความรักไว้ในอาหารมือนนี้   





ลาบหมู


ถ้าพูดถึงอาหารเหนือหลายคนจะนึกถึง ลาบ ลาบถือว่าเป็นวัฒนธรรมการกินและเป็นอาหารชั้นเลิศของชาวเหนือ พ่ออุ้ยเคยเล่าให้ฟังว่า “สมัยก่อนลาบจะได้กินเฉพาะในงานวันสำคัญที่พิเศษเท่านั้น ในงานจะมีการล้มวัว ล้มควาย หรือหมู เพื่อนำมาทำลาบแบ่งปันสู่กัน ไม่เหมือนในสมัยปัจจุบันที่มีเนื้อสัตว์ขายตามท้องตลาดอยู่ทั่วไปถ้าอยากทาน ลาบก็ไปตลาดไปซื้อเนื้อ หรือก็ไปซื้อที่ร้านขายลาบ”  ลาบสามารถนำเนื้อสัตว์หลายชนิดมาทำ เช่น เนื้อควาย เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา เป็นต้น




แก๊งผักหม

  ผักหม(ผักโขม)ผักพื้นบ้านขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง  
ในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักหมมีคุณค่าทางด้านสารอาหารมากมายมีโปรตีนสูงและที่สำคัญสามารถนำมาปรุง อาหารได้หลากหลาย     

 





แหล่งข้อมูล : www.phayao/tag/อาหารพื้นเมือง



ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณี



ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณี



ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และการละเล่นพื้นเมือง
          จังหวัดพะเยา มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญ ที่นิยมปฏิบัติ สืบทอดกันมา แต่โบราณจนถึงปัจจุบัน คือ




ประเพณีไหว้พระธาตุดอยจอมทอง


            วันเเพ็ญเดือน 4 ทุกปี ชาวพะเยาพร้อมใจกันทำบุญไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เพราะความเลื่อมใสศรัทธา





ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ


             เป็นพิธีขอน้ำขอฝน จากผีประจำขุนเขาที่เป็นต้นน้ำ เพราะเป็นเวลาที่ใกล้จะหว่านข้าวกล้า จะทำในวันปากปีของสงกรานต์เมืองเหนือ วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี






ประเพณีไหว้พระธาตุวัดป่าแดง-บุญนาค


          เป็นประเพณีที่ชาวพะเยา จะพากันทำบุญตักบาตรสวดมนต์ไหว้พระ เวียนเทียน รักษาศีลภาวนา ในวันเพ็ญเดือน 5 ของทุกปี






ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)


          ตรงกับวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน) ประเพณีนี้มี 2 วันคือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เรียกว่า วันยี่เป็ง เป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคา ในช่วงเช้าจะเป็นการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืนและกลางวัน จะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก กลางคืนจะมีการลอยกระทงเล็ก บริเวณรอบกว๊านพะเยา




งานประเพณีสลากภัต


            โดยจะเริ่มตั้งแต่ วันเพ็ญเดือนสิบสองเหนือ (เดือน 10) ประมาณเดือนกันยายน และจะสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ชาวบ้านจะนำเอาสิ่งของต่างๆ เช่น ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม อาหารเป็นห่อนึ่ง ชิ้นปิ้ง (เนื้อย่าง) หมาก เมี่ยง บุหรี่ รวมใส่ในก๋วย (ตะกร้า) พร้อมกับยอด คือ สตางค์หรือธนบัตรผูกไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธาและทรัพย์ของแต่ละครอบครัว






งานพิธีแห่เทียนเข้าพรรษา


            จะตรงกับวันอาสาฬหบูชา หรือวันเพ็ญเดือนแปด (เดือนกรกฎาคม) โดยคณะศรัทธาและหน่วยราชการทุกแห่ง จะรวมกันหล่อเทียนที่แกะสลักอย่างสวยงาม เพื่อนำมาร่วมเป็นขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาของแต่ละปี มีการประกวดประชันความสวยงามของเทียน





พิธีเลี้ยงผีหนองเล็งทราย 

                จะจัดขึ้นวันแรม 9 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (เดือน 7) ของทุกปี ณ บริเวณหนองเล็งทราย อ. แม่ใจ ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ เพื่อสร้างจิตสำนึกของชาวบ้านให้รู้จักคุณค่าของแหล่งน้ำและช่วยกันอนุรักษ์







ประเพณีวันดอกคำใต้บาน


           วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี กลุ่มสตรีทุกระดับจะรวมพลังทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน การจำหน่ายผลผลิตพื้นบ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สตรีทุกคนสำนึกในศักดิ์ศรีของสตรี





งานอนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท.2324


            จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนที่เสียสละชีวิตจากการต่อสู้ระหว่างประชาชน ข้า ราชการ ตำรวจ ทหาร กับพวกคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย งานจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ บริเวณสนามบินทหาร โดยจะมีพิธีวางพวง มาลาอนุสรณ์ผู้เสียสละ





งานสืบสานตำนานไทยลื้อ


 
            จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวย งาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อ การสาธิตพิธีกรรม ต่างๆ






งานสักการะบวงสรวง พ่อขุนงำเมือง 


           เป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหง มหาราช และพ่อขุนเม็งรายมหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการ แสดงวัตนธรรมล้านนา





งานเทศกาลลิ้นจี่ และของดีเมืองพะเยา 


          จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ที่ตลาดกลางเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ อำเภอแม่ใจ ในงานมีมหรสพ การแสดง การประกวดธิดาชาวสวนลิ้นจี่ ประกวดลิ้นจี่พันธุ์ต่างๆ








แหล่งข้อมูล https://singlorpeariez.wordpress.com

แหล่งท่องเที่ยว



สถานที่ท่องเที่ยว



อนุสาวรีย์พญางำเมือง

          อนุสาวรีย์พญางำเมือง อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (พะเยา) ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะ เทศบาลหน้ากว๊านพะเยา เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 พญางำเมืองเป็นพระสหายร่วมน้ำสาบาน กับ พญามังรายอดีต กษัตริย์เมืองเชียงราย และพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามกษัตริย์ได้ทรงกระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณกว๊านพะเยา



กว๊านพะเยา


           กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 4 ของประเทศไทย (รองจากบึงบอระเพ็ด, หนองหาน และบึงละหาน) คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เกิดขึ้นจากกรมประมงได้ทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็กั้นไม่ให้น้ำไหลแรงไปท่วมเรือกสวนไร่นาที่อยู่ปลายน้ำ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วนทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง


              ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ






วัดติโลกอาราม



          วัดติโลกอารามหรือสันธาตุบวกสี่แจ่ง พระอารามหลวงในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2019 - 2029 ปัจจุบันตัววัดจมอยู่ใต้กว๊านพะเยา ยกเว้นส่วนยอดพระธาตุที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา เนื่องจากปี พ.ศ. 2482 กรมประมงได้ก่อสร้างประตูกั้นน้ำ ทำให้แม่น้ำอิงและลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงมาจากทิวเขาผีปันน้ำ เกิดการเอ่อล้นเข้าท่วมชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณหนองเอี้ยงจนเกิดทะเลสาบน้ำจืดขึ้นมา เรียกว่ากว๊านพะเยา ทำให้วัด โบราณสถาน และชุมชนโบราณจำนวนมาก จมอยู่ใต้น้ำ






ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา

         
              ตั้งอยู่ตรงถนนพหลโยธินระหว่างหลักกม.ที่ 734-735 เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาที่เพาะพันธุ์เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ฯลฯ และสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกได้สำเร็จเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ห้องจัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงามที่หาดูยากไว้หลายชนิด เปิดให้ชมในวันเวลาราชการ และยังมีเรือนประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อครั้งเสด็จมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาอยู่ในบริเวณเดียวกัน บริเวณรอบตำหนักจะมีดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ สระน้ำพุอันสวยงาม ตั้งอยู่บริเวณสถานีประมงพะเยา





วัดอนาลโย


             วัดอนาลโยทิพยาราม ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา - เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 - 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์ มีที่พักแบบรีสอร์ทบนวัด





วัดพระเจ้าตนหลวง


          วัดศรีโคมคำเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง ตัววิหารหลังเดิม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง เนื่องจากเมืองพะเยามีการอพยพผู้คนจากภัยสงคราม ทำให้ตัวเมืองถูกปล่อยร้าง จนกระทั่งมีการฟื้นฟูเมืองขึ้นมาใหม่ หลังยุคที่กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ตีเอาล้านนามาจากพม่า มาจนถึงช่วงที่พระยาประเทศอุดรทิศ เป็นผู้ครองเมืองพะเยาคนสุดท้าย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนระบบการปกครองแบบหัวเมือง มาเป็นมณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงสมัยนี้ เริ่มมีการบูรณะวัดศรีโคมคำและพระเจ้าตนหลวงขึ้นมาอีกครั้ง หลังตัววัดและองค์พระมีสภาพทรุดโทรมมาเกือบ 60 ปี










แหล่งข้อมูลhttp://www.tripsthailand.com/th/thailand_Major_Destinations_phayao.php
                           
แหล่งข้อมูล : https://www.youtube.com/watch?v=DQixLnWifA8